Skip Navigation
The Endowment for Human Development
The Endowment for Human Development
Improving lifelong health one pregnancy at a time.
Donate Now Get Free Videos

Multilingual Illustrated DVD [Tutorial]

The Biology of Prenatal Development




ชีววิทยาของพัฒนาการก่อนการเกิด

.ไทย [Thai]


National Geographic Society This program is distributed in the U.S. and Canada by National Geographic and EHD. [learn more]

Choose Language:
Download English PDF  Download Spanish PDF  Download French PDF  What is PDF?
 

Chapter 15   5 Weeks: Cerebral Hemispheres

ระหว่างสัปดาห์ที่ 4 และ 5 สมองยังคงเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว และแบ่งออกเป็น 5 ส่วน ที่แยกจากกันอย่างชัดเจน

ศีรษะมีขนาดเป็น 1/3 ของตัวอ่อนทารก

ครึ่งหนึ่งของสมองปรากฏขึ้น ซึ่งจะค่อย ๆ กลายเป็น ส่วนที่ใหญ่ที่สุดของสมอง

การทำหน้าที่ต่าง ๆ ของอวัยวะจะ ถูกสั่งโดยสมองส่วนที่ใหญ่ที่สุดนี้ รวมทั้ง การคิด การเรียนรู้ การจดจำ การพูด การมองเห็น การได้ยิน การเคลื่อนไหว และการแก้ไขปัญหา

Chapter 16   Major Airways

ในระบบการหายใจ หลอดลมด้านขวาและ ด้านซ้ายจะปรากฎขึ้น มีการเชื่อมต่อ ระหว่างหลอดลม กับปอด

Chapter 17   Liver and Kidneys

สังเกตุได้ว่า ตับเริ่มมี ขนาดใหญ่ในช่องท้อง ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเต้นของหัวใจ

ไตจะเกิดขึ้น ประมาณ สัปดาห์ที่ 5

Chapter 18   Yolk Sac and Germ Cells

ภายในถุงไข่แดงจะมี เซลล์สำหรับสืบพันธุ์ ซึ่งเรียกว่า เซลล์สืบพันธุ์ By 5 weeks ประมาณ 5 สัปดาห์ เซลล์สืบพันธุ์หล่านี้ จะเคลื่อนตัว ไปที่อวัยวะสืบพันธุ์ ซึ่งติดกับไต

Chapter 19   Hand Plates and Cartilage

อีกเช่นกัน ประมาณ 5 สัปดาห์ ตัวอ่อนจะสร้าง ส่วนมือ การเติบโตของกระดูกอ่อน จะเริ่มประมาณ 5 สัปดาห์ครึ่ง

ซึ่งที่นี่เราสามารถเห็นมือซ้ายที่แบนเรียบ และข้อมือ ในสัปดาห์ที่ 5 และ 6

Embryonic Development: 6 to 8 Weeks

Chapter 20   6 Weeks: Motion and Sensation

ประมาณ 6 สัปดาห์ สมองส่วนที่ เกี่ยวกับความคิด เติบโตขึ้น อย่างรวดเร็ว กว่าสมองส่วนอื่น ๆ

ตัวอ่อนเริ่มมีสัญชาตญาณ และมีการเคลื่อนไหวเพื่อการโต้ตอบ การเคลื่อนไหวของทารก มีความจำเป็นอย่างยิ่ง ในการช่วยพัฒนาการเติบโตของกล้ามเนื้อ

การสัมผัสบริเวณปาก ทำให้ตัวอ่อน มีการโต้ตอบ โดยการดึงส่วนหัวกลับ

Chapter 21   The External Ear and Blood Cell Formation

หูซึ่งอยู่ภายนอกเริ่มเป็นรูปร่างขึ้น

ประมาณ 6 สัปดาห์ การเติบโตของเม็ดเลือด ในตับ ยังคงดำเนินต่อไป ซึ่งได้เกิด ลิมโฟไซท์ ขึ้น เม็ดเลือดขาวชนิดนี้ มีส่วนสำคัญในการพัฒนา ระบบภูมิคุ้มกันโรค

Chapter 22   The Diaphragm and Intestines

กะบังลม คือกล้ามเนื้อส่วนแรก ที่ใช้สำหรับการหายใจ จะมีขนาดใหญ่ขึ้นเมื่อ สัปดาห์ที่ 6

ส่วนของลำไส้จะยื่นโผล่ออกมาชั่วคราว เพื่อต่อกับสายสะดือ กระบวนการนี้เรียกว่า ฟิซิโอโลจิก เฮอร์นิเอชั่น เพื่อสร้างพื้นที่สำหรับการเติบโต ของอวัยวะในช่องท้อง

Chapter 23   Hand Plates and Brainwaves

ในสัปดาห์ที่ 6 มือจะมีลักษณะ เป็นแผ่นแบนเรียบ

คลื่นสมองจะมีการบันทึก ประมาณ 6 สัปดาห์กับ 2 วัน

Chapter 24   Nipple Formation

หัวนมจะปรากฎขึ้น ระหว่างด้านข้างของลำตัว เพียงไม่นาน ก่อนที่จะ พบกับจุดที่แน่นอน บนด้านหน้าของหน้าอก

Chapter 25   Limb Development

ประมาณ 6 สัปดาห์ ½ ข้อศอก จะปรากฎชัดเจนขึ้น นิ้วเริ่มแยกจากกัน การเตลื่อนไหวของมือ เห็นได้ชัดเจนขึ้น

การเติบโตของกระดูก เรียกว่า กระบวนการสร้างกระดูก ซึ่งเกิดขึ้นภายในกระดูกไหปลาร้า หรือกระดูกบริเวณต้นคอ รวมทั้งกระดูกของขากรรไกร

Chapter 26   7 Weeks: Hiccups and Startle Response

เราจะสังเกตุเห็นอาการสะอึกได้ ภายใน 7 สัปดาห์

เรายังเห็นการเคลื่อนไหวของขา เพื่อการโต้ตอบ การสะดุ้งหรือตกใจ

Chapter 27   The Maturing Heart

ทั้ง 4 ห้องหัวใจเติบโตขึ้นอย่างสมบูรณ์ ระยะนี้ หัวใจจะเต้น โดยเฉลี่ย 167 ครั้งต่อนาที

การทำหน้าที่ของหัวใจ ประมาณ 7 สัปดาห์ ครึ่ง การปล่อยคลื่น เช่นเดียวกับของผู้ใหญ่

Chapter 28   Ovaries and Eyes

สำหรับตัวอ่อนเพศหญิง รังใข่จะปรากฎ ภายใน 7 สัปดาห์

ประมาณ 7 สัปดาห์ ครึ่ง สีของดวงตา จะปรากฎชัดเจน ส่วนเปลือกตา จะเริ่มมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว

Chapter 29   Fingers and Toes

นิ้วแยกออกจากกัน นิ้วเท้า

มือสามารถมารวมกัน เช่นเดียวกับเท้า

ข้อต่อของหัวเข่าปรกกฎขึ้น

The 8-Week Embryo

Chapter 30   8 Weeks: Brain Development

ในสัปดาห์ที่ 8 สมองได้รับ การพัฒนาไปอย่างมาก และมีน้ำหนักเป็นครึ่งหนึ่ง ของน้ำหนักตัวของตัวอ่อน

การเจริญเติบโตดำเนินต่อไป

Chapter 31   Right- and Left-Handedness

ใน สัปดาห์ที่ 8 ประมาณ 75 เปอร์เซ็นต์ ของตัวอ่อนจะแสดงความเด่นของมือขวา ส่วนที่เหลือจะถูกแบ่งอย่างเท่า ๆ กัน ระหว่างความเด่นของมือซ้าย และความด้อย นี่คือหลักฐานเบื้องต้น ในการแสดง พฤติกรรมความถนัดขวาหรือถนัดซ้าย

Chapter 32   Rolling Over

หนังสือ เพดิเอทริค ได้อธิบายถึง ความสามารถในการกลิ้งตัว ซึ่งปรากฎในระยะ 10 ถึง 20 สัปดาห์ หลังจากการเกิด อย่างไรก็ตาม นี่คือการประสานงานที่น่าทึ่ง ที่ปรากฎให้เห็น ในสภาพแวดล้อมที่จำกัด ของของเหลวในถุงน้ำคร่ำ ขาดเพียงความแข็งแรงเท่านั้น เพื่อเอาชนะแรงดึงดูด ของโลกที่มากกว่า ภายนอกครรภ์ เพื่อปกป้อง ทารกจากการกลิ้งตัว

ตัวอ่อนมีสภาพร่างกายที่ว่องไวขึ้น ในช่วงเวลานี้

การเคลื่อนไหว อาจช้าหรือเร็ว ครั้งเดียว หรือหลาย ๆ ครั้ง เกิดขึ้นเองหรือเป็นการโต้ตอบ

การหมุนศีรษะ การยืดคอ และการสัมผัสด้วยมือ จะเกิดบ่อยขึ้น

การหรี่ตาของตัวอ่อน การเคลื่อนไหวของขากรรไกร การจับ ยึด การชี้นิ้วเท้า

Chapter 33   Eyelid Fusion

ระหว่างสัปดาห์ที่ 7 และ 8 หนังตาบนและล่าง เติบโตอย่างรวดเร็ว และมีบางส่วน รวมเข้าด้วยกัน

Chapter 34   "Breathing" Motion and Urination

แม้ว่าไม่มีอากาศในครรภ์ ตัวอ่อนจะแสดงให้เห็นถึงการหายใจ ที่ไม่สม่ำเสมอใน 8 สัปดาห์

ในช่วงเวลานี้เอง ไตเริ่มผลิตน้ำปัสสาวะ ซึ่งจะถูกปล่อยเข้าไปใน ของเหลวในถุงน้ำคร่ำ

ทารกเพศชาย พัฒนาการเจริญเติบโต เริ่มผลิตและปล่อยฮอร์โมนเทสเตอร์โรน

Chapter 35   The Limbs and Skin

กระดูก ข้อต่อ กล้ามเนื้อ เส้นประสาท หลอดเลือดในส่วนแขนขา ใกล้เคียงกับของผู้ใหญ่

ประมาณ 8 สัปดาห์ หนังกำพร้า หรือผิวหนังชั้นนอกสุด จะเปลี่ยนเป็นเนื้อเยื่อหลาย ๆ ชั้น ทำให้ความโปร่งใสของผิวหนังหายไป

ขนตางอกขึ้น เช่นเดียวกับหนวดหรือขนที่ ขึ้นบริเวณปาก

Chapter 36   Summary of the First 8 Weeks

8 สัปดาห์ สิ้นสุดระยะตัวอ่อน

ในระยะนี้ตัวอ่อนของมนุษย์ เติบโตจากเซลล์เดียว ไปสู่ 1 พันล้านเซลล์ ซึ่งสร้างองค์ประกอบของร่างกาย มากกว่า 4000 ส่วนได้อย่างชัดเจน

ขณะนี้ ตัวอ่อนได้มี องค์ประกอบของร่างกายมากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งพบในร่างกาย ของผู้ใหญ่ที่สมบูรณ์