Skip Navigation
The Endowment for Human Development
The Endowment for Human Development
Improving lifelong health one pregnancy at a time.
Donate Now Get Free Videos

Multilingual Illustrated DVD [Tutorial]

The Biology of Prenatal Development




ชีววิทยาของพัฒนาการก่อนการเกิด

.ไทย [Thai]


National Geographic Society This program is distributed in the U.S. and Canada by National Geographic and EHD. [learn more]

Choose Language:
Download English PDF  Download Spanish PDF  Download French PDF  What is PDF?
 

The Fetal Period (8 Weeks through Birth)

Chapter 37   9 Weeks: Swallows, Sighs, and Stretches

ระยะของทารกในครรภ์ดำเนิน ต่อไป จนกระทั่งการคลอด

ประมาณ สัปดาห์ที่ 9 การดูด นิ้วหัวแม่มือเริ่มขึ้น ทารกในครรภ์สามารถกลืนน้ำคร่ำ

และทารกในครรภ์ยัง สามารถจับ ยึดสิ่งของได้ เคลื่อนศีรษะไปด้านหน้าและด้านหลัง เปิดและปิดขากรรไกร ขยับลิ้น ถอนหายใจ การเหยียดตัว

เส้นประสาทรับรู้บนใบหน้า ฝ่ามือ ฝ่าเท้า สามารถรับรู้สัมผัสเบา ๆ

ในการตอบสนองสัมผัสที่ฝ่าเท้า ทารกในครรภ์จะงอตัว หรืออาจจะขดนิ้วเท้า

ตอนนี้เปลือกตาปิดสนิท

ในกล่องเสียง จะปรากฎเส้นเสียง ซึ่งเป็นสัญญาณของการเริ่ม พัฒนาการของเส้นเสียง

ในทารกเพศหญิง มดลูก สามารถระบุได้อย่างชัดเจน และเซลล์สืบพันธุ์ที่ยังไม่เจริญเต็มที่ เรียกว่า โอโกเนีย พักตัวอยู่ในรังไข่

อวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก เริ่มมี ความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัด ไม่ว่าจะเป็นเพศชาย หรือเพศหญิง

Chapter 38   10 Weeks: Rolls Eyes and Yawns, Fingernails & Fingerprints

การเจริญเติบโต ในระหว่าง สัปดาห์ที่ 9 และ 10 จะเพิ่มน้ำหนักตัวมากกว่า 75 เปอร์เซ็นต์

ประมาณ 10 สัปดาห์ การกระตุ้น ของเปลือกตาบน ทำให้เกิดการกลอกตาลงข้างล่าง

ทารกมีการหาว และ อ้าปาก และปิดปากบ่อยขึ้น

ทารกส่วนใหญ่จะดูด นิ้วหัวแม่มือขวา

ส่วนของลำไส้ซึ่งต่อกับสายสะดือ จะเคลื่อนตัวกลับไปสู่ช่องท้อง

กระบวนการสร้างกระดูกดำเนินต่อไป

เล็บมือ และเล็บเท้าเริ่มมีการเจริญเติบโต

ลายนิ้วมือเดียว จะปรากฎให้เห็น ประมาณ 10 สัปดาห์หลังจากการปฏิสนธิ ด้วยลักษณะเด่นนี้ สามารถนำไปใช้ เพื่อการชี้ตัว หรือชันสูตรได้ตลอดชีวิต

Chapter 39   11 Weeks: Absorbs Glucose and Water

ประมาณ 11สัปดาห์ จมูกและปากจะถูกสร้างขึ้นอย่างสมบูรณ์ เช่นเดียวกับส่วนอื่นๆ ของร่างกาย จะมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง ในแต่ละช่วงเวลา ของวงจรชีวิตมนุษย์

ลำไส้เริ่มดูดซับ น้ำตาลและน้ำ ซึ่งทารกกลืนเข้าไป

แม้ว่าเพศของทารกได้ถูกกำหนด ตั้งแต่การปฏิสนธิ ตอนนี้อวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก สามารถ ระบุเพศได้อย่างชัดเจน ระหว่างเพศชาย หรือ เพศหญิง

Chapter 40   3 to 4 Months (12 to 16 Weeks): Taste Buds, Jaw Motion, Rooting Reflex, Quickening

ระหว่างสัปดาห์ที่ 11 และ 12 น้ำหนักตัวของทารกเพิ่มขึ้น ประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์

12 สัปดาห์ซึ่งหมายถึง ในสามเดือนแรก หรือช่วงเวลา 3 เดือนของการตั้งครรภ์

ปุ่มรับรส ปรากฎให้เห็นอย่างชัดเจน ในปากของตัวอ่อน
เมื่อถึงการเกิด ปุ่มรับรสจะยังคง อยู่ที่ลิ้นและเพดานปาก

การเคลื่อนที่ของลำไส้ เริ่มต้นเมื่อต้น 12 สัปดาห์ และดำเนินต่อไปอีกประมาณ 6 สัปดาห์

ของเสียที่ถูกขับออกจาก ลำไส้ใหญ่ของตัวอ่อน เรียกว่า เมโคเนียม It is composed ซึ่งประกอบไปด้วย เอ็นไซม์ที่ช่วยย่อย โปรตีนและเซลล์ที่ตายแล้ว ซึ่งถูกแยกออกโดยระบบการย่อย

ประมาณ 12 สัปดาห์ ความยาว ของอวัยวะส่วนบนของร่างกาย เกือบจะได้ขนาดที่เหมาะสม กับขนาดร่างกาย อวัยวะส่วนล่างจะยาวขึ้น จนกระทั่งสิ้นสุดส่วนสุดท้ายของร่างกาย

โดยข้อยกเว้นของส่วนหลังของ ร่างกาย และส่วนบนสุดของศีรษะ ร่างกายทั้งหมดของทารก ตอนนี้ มีการตอบสนองกับทุกการสัมผัส

ความแตกต่างของพัฒนาการ ขึ้นอยู่กับเพศของทารก ปรากฎขึ้นเป็นครั้งแรก ตัวอย่างเช่น ทารกเพศหญิง จะมี การเคลื่อนไหวของขากรรไกร บ่อยกว่าทารกเพศชาย

ในทางตรงกันข้าม การตอบสนอง ทางร่างก่ายซึ่งจะเห็นได้ในตอนต้น การกระตุ้นบริเวณปากทำให้เกิด การหมุนกลับไปยังตัวกระตุ้น และการอ้าปาก การตอบสนองนี้เรียกว่า ปฏิกริยาตอบกลับขั้นพื้นฐาน และยังคงอยู่ต่อไปหลังการเกิด เพื่อช่วยทารกแรกเกิด หาหัวนมของมารดา ระหว่างการให้นม

ใบหน้ามีการเจริญต่อไป เพื่อให้เติบโตเต็มที่ เริ่มมีไขมันบริเวณแก้ม การเจริญเติบโตของฟันเริ่มขึ้น

ประมาณ 15 สัปดาห์ เซลล์ สำหรับสร้างหลอดเลือดเกิดขึ้น และเพิ่มจำนวนมากขึ้นในไขกระดูก การเกิดของเซลล์เม็ดเลือดจะเกิดขึ้นที่นี่

แม้ว่าการเคลื่อนไหวของทารก ในครรภ์ ได้เริ่มขึ้นใน 6 สัปดาห์ หญิงมีครรภ์จะรู้สึกถึงการเคลื่อนไหว ของทารกในครรภ์ครั้งแรก ระหว่างสัปดาห์ที่ 14 และ 18 โดยทั่วไป ปรากฎการณ์นี้เรียกว่า การเริ่มดิ้นของทารกในครรภ์

Chapter 41   4 to 5 Months (16 to 20 Weeks): Stress Response, Vernix Caseosa, Circadian Rhythms

ประมาณ 16 สัปดาห์ กระบวนการ ที่เกี่ยวพันกับการสอดแทรก ส่วนที่เหมือนกับเข็มเข้าสู่ ช่องท้องของตัวอ่อนในครรภ์ เพื่อกระตุ้นฮอร์โมน ที่เกี่ยวกับการตอบสนองความเครียด โดยการปล่อย นอร์อะดรีนาลีน หรือฮอร์โมนอะดรีนาลีน เข้าสู่กระแสเลือด ทารกแรกเกิดและผู้ใหญ่จะมี การตอบสนองที่คล้ายกัน เพื่อให้กระบวนการดำเนินไปอย่างรวดเร็ว

ในส่วนของระบบการหายใจ ขณะนี้ การเจริญเติบโตของ หลอดลมใกล้จะเสร็จสมบูรณ์

วัตถุสีขาวที่ช่วยปกป้องตัวอ่อนในครรภ์ ที่เรียกว่า เวอร์นิกซ์ คาเซโอซา ตอนนี้ได้ห่อหุ้มตัวอ่อนไว้ เวอร์นิกซ์ ช่วยป้องกันผิวหนัง จากการระคายเคืองซึ่งเกิดจาก น้ำคร่ำ

เมื่อถึง 19 สัปดาห์ การเคลื่อนไหว ของตัวอ่อน การหายใจ อัตราการเต้นของหัวใจ เริ่มเข้าสู่วงจรที่สม่ำเสมอ เรียกว่า จังหวะของซีคาเดียน

Chapter 42   5 to 6 Months (20 to 24 Weeks): Responds to Sound; Hair and Skin; Age of Viability

ประมาณ 20 สัปดาห์ อวัยวะ รูปหอยโข่ง หรือ คอเคีย ซึ่งเป็นอวัยวะสำหรับการได้ยิน มีขนาดใหญ่เท่ากับของผู้ใหญ่ โดยการเติบโตอย่างเต็มที่ ในช่องหู ตั้งแต่นี้ไป ตัวอ่อนในครรภ์จะตอบสนอง การแผ่ขยายของระดับเสียง

เริ่มมีผมขึ้นที่ศีรษะ

ผิวหนัง และชั้นของผิวหนัง ปรากฎขึ้น รวมไปถึง รูขุมขนและต่อมเหงื่อ

ประมาณ 21 ถึง 22 สัปดาห์ หลังจากการปฏิสนธิ ปอดจะมีความสามรถใน การหายใจด้วยอากาศ ซึ่งหมายถึง อายุของ การเจริญเติบโตของตัวอ่อน เพราะการอยู่รอดนอกมดลูก จำเป็นสำหรับตัวอ่อน ความเจริญด้านวิทยาการแพทย์ ที่ดำเนิน มาอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน ช่วยรักษาการมีชีวิตรอด ของทารกที่เกิดก่อนกำหนด

Chapter 43   6 to 7 Months (24 to 28 Weeks): Blink-Startle; Pupils Respond to Light; Smell and Taste

ประมาณ 24 สัปดาห์ เปลือกตา จะเปิด ตัวอ่อนในครรภ์ จะมีการตอบสนอง การตกใจด้วยการกระพริบตา การตอบสนองนี้ จะเกิดขึ้นทันที เมื่อมีเสียงดัง พัฒนาการด้านนี้ จะเกิดขึ้นก่อน ในทารกเพศหญิง

การเปิดเผยรายงานการค้นคว้า เกี่ยวกับเสียงดังของผู้วิจัยหลาย ๆ ท่าน ระบุว่า เสียงดังอาจมีผลกระทบต่อ สุขภาพของตัวอ่อนในครรภ์ ผลที่เกิดขึ้นในทันที คือการเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ การกลืนที่มากเกินไป การเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมที่ไม่ต่อเนื่อง และอาจมีผลในระยะยาว คือสูญเสียการได้ยิน

อัตราการหายใจของตัวอ่อน อาจเพิ่มขึ้นสูง ถึง 44 ครั้ง ในการหายใจเข้าออก ต่อนาที

ในระยะสามเดือนหลังของการตั้งครรภ์ การเจริญเติบโตที่รวดเร็วของสมอง ใช้พลังงาน มากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ ของตัวอ่อน น้ำหนักของสมองเพิ่มขี้น ประมาณ 400 ถึง 500 เปอร์เซ็นต์

ประมาณ 26 สัปดาห์ ดวงตาผลิตน้ำตา

ลูกตาดำตอบสนองต่อแสง ในช่วงต้นของ สัปดาห์ที่ 27 การตอบสนองนี้ จะควบคุมปริมาณแสง ที่เข้าสู่เยื่อเรตินา ไปตลอดชีวิต

องค์ประกอบที่จำเป็นทั้งหมด สำหรับการรับรู้กลิ่น เริ่มทำงาน การศีกษาเกี่ยวกับทารกที่คลอดก่อนกำหนด ได้เปิดเผยถึงความสามารถ ในการรับกลิ่น ในช่วงตอนต้นของ 26 สัปดาห์ หลังจาการปฏิสนธิ

การมีสารรสหวานในน้ำคร่ำ ช่วยเพิ่มอัตราการกลืนของตัวอ่อน ในทางตรงกันข้าม สิ่งที่ช่วย ลดอัตราการกลืน คือสารที่มีรสขม โดยจะมีการแสดงออกทางสีหน้า ตามมา

โดยลำดับการก้าว การเคลื่อนไหวของขา คล้ายกับการเดิน ตัวอ่อนจะมีการกลับหัว

ตัวอ่อนในครรภ์จะมีรอยย่นน้อยลง เมื่อมีไขมันเพิ่มขึ้นภายใต้ผิวหนัง ไขมันมีบทบาทที่สำคัญสำหรับชีวิต โดยรักษาอุณหภูมิของร่างกาย และช่วยเก็บรักษาพลังงาน หลังการเกิด

Chapter 44   7 to 8 Months (28 to 32 Weeks): Sound Discrimination, Behavioral States

ประมาณ 28 สัปดาห์ ตัวอ่อนสามารถแยกแยะ ระดับเสียงสูง เสียงต่ำได้

ระมาณ 30 สัปดาห์ ระบบหายใจ เริ่มเป็นปรกติมากขึ้น และเกิดขึ้นประมาณ 30 ถึง 40 เปอร์เซ็นต์ ในตัวอ่อนทั่วไป

ระหว่าง 4 เดือนสุดท้ายของการตั้งครรภ์ ช่วงเวลาของการทำงาน ของส่วนต่าง ๆ ในร่างกาย จะถูกขั้นด้วยช่วงเวลาของการพักผ่อน พฤติกรรมนี้ สะท้อนให้เห็นถึง ความซับซ้อน ที่เพิ่มขึ้น ของระบบประสาทส่วนกลาง

Chapter 45   8 to 9 Months (32 to 36 Weeks): Alveoli Formation, Firm Grasp, Taste Preferences

ประมาณ 32 สัปดาห์ เซลล์ถุงลม หรือเซลล์ถุงลม เริ่มมีการเติบโตในปอด ซึ่งจะดำเนินต่อไปจนกระทั้ง 8 ปี หลังการเกิด

ใน 35 สัปดาห์ ตัวอ่อนจะมี ความสามารถในการจับยึดที่แข็งเรงขึ้น

การรับสารต่าง ๆของตัวอ่อน มีผลกระทบต่อ พฤติกรรม การชอบมากกว่า หลังจากาการเกิด ตัวอย่างเช่น ตัวอ่อนที่แม่ชอบ รับประทานเม็ดผักชี ซึ่งเป็นสารที่ให้รสชาดของชะเอม ทารกจะมีพฤติกรรม การชอบเม็ดผักชีหลังการเกิด ทารกแรกเกิดซึ่งไม่มีการ รับสารนี้ จะไม่ชอบเม็ดผักชี

Chapter 46   9 Months to Birth (36 Weeks through Birth)

The fetus initiates labor ตัวอ่อนเริ่มเตรียมตัวสำหรับ กระบวนการในการคลอด โดยการปล่อยฮอร์โมน ที่เรียกว่า เอสโตรเจน ออกมาเป็นจำนวนมาก และเริ่มเปลี่ยนจาก ตัวอ่อน ไปสู่ทารกแรกเกิด

ความพยายามในการคลอด สังเกตุได้ จากการหดตัวอย่างมากของมดลูก ซึ่งมีผลต่อการคลอด

จากการปฏิสนธิ ไปสู่การเกิด และคงอยู่ต่อไป การเจริญเติบโตของมนุษย์ เต็มไปด้วย พลังงานที่ดำเนินไปอย่างต่อเนื่องและซับซ้อน การค้นพบใหม่ ของกระบวน การอันน่าอัศจรรย์นี้ แสดงให้เห็นการเจริญเติบโต ของตัวอ่อนในครรภ์ อย่างมากมาย สุขภาพชีวิตที่ยาวนาน

ยิ่งเรามีความเข้าใจในการเจริญเติบโต ขั้นต้นของมนุษย์ ก้าวหน้ามากเท่าใด นั่นหมายถึงความสามารถใน การยกระดับสุขภาพให้ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นก่อนหรือหลังการเกิด